• ประวัติคณะนิติศาสตร์ •

คณะกรรมการพัฒนามหาวิทยาลัยและคณะกรรมการส่งเสริมกิจการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เห็นชอบและสนับสนุนให้มีคณะนิติศาสตร์ขึ้นในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มหาวิทยาลัยจึงแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตโดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ทฤษฎิคุณ เป็นประธานกรรมการ และในคราวประชุมครั้งที่ 235 (3/2545)
เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2545 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติหลักสูตรดังกล่าว และเปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2545 จำนวน 66 คน เมื่อหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต เปิดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตร นิติศาสตรบัณฑิต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. ปิติ ทฤษฎิคุณ เป็นประธานกรรมการดูแลรับผิดชอบไปก่อน และ ที่ประชุมคณบดีในคราวประชุมครั้งที่ 7/2545 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2545 เห็นชอบให้เสนอขอจัดตั้ง คณะนิติศาสตร์เป็นหน่วยงานภายในต่อสภามหาวิทยาลัย
ต่อมาในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 255 (5/2545) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2545 สภาให้จัดตั้งเป็นโครงการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์และพัฒนาหลักสูตร นิติศาสตร์ โดยมี ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานกรรมการ สุดท้ายสภามหาวิทยาลัยเห็นชอบให้ตั้งคณะนิติศาสตร์เป็นหน่วยงานภายใน มหาวิทยาลัยในคราวประชุม สภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 260 (1/2546) เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2546 โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง 5 ประการ และสภามหาวิทยาลัยได้ประกาศจัดตั้งคณะนิติศาสตร์เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 พร้อมแบ่งส่วนงานออกเป็น
1. ฝ่ายบริหารทั่วไป
2. ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ
3. สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ
4. สาขาวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์
5. สาขาวิชากฎหมายมหาชน
6. สาขาวิชากฎหมายระหว่างประเทศ
เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2545 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติหลักสูตรดังกล่าว และเปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2545 จำนวน 66 คน เมื่อหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต เปิดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตร นิติศาสตรบัณฑิต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. ปิติ ทฤษฎิคุณ เป็นประธานกรรมการดูแลรับผิดชอบไปก่อน และ ที่ประชุมคณบดีในคราวประชุมครั้งที่ 7/2545 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2545 เห็นชอบให้เสนอขอจัดตั้ง คณะนิติศาสตร์เป็นหน่วยงานภายในต่อสภามหาวิทยาลัย
ต่อมาในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 255 (5/2545) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2545 สภาให้จัดตั้งเป็นโครงการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์และพัฒนาหลักสูตร นิติศาสตร์ โดยมี ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานกรรมการ สุดท้ายสภามหาวิทยาลัยเห็นชอบให้ตั้งคณะนิติศาสตร์เป็นหน่วยงานภายใน มหาวิทยาลัยในคราวประชุม สภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 260 (1/2546) เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2546 โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง 5 ประการ และสภามหาวิทยาลัยได้ประกาศจัดตั้งคณะนิติศาสตร์เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 พร้อมแบ่งส่วนงานออกเป็น
1. ฝ่ายบริหารทั่วไป
2. ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ
3. สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ
4. สาขาวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์
5. สาขาวิชากฎหมายมหาชน
6. สาขาวิชากฎหมายระหว่างประเทศ




• วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม •
เป็นสถาบันชั้นนำในการจัดการศึกษานิติศาสตร์ระดับชาติ สร้างนวัตกรรมทางกฎหมายเพื่อความเป็นธรรมของสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
1.สร้างนักกฎหมายที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป้นที่พึ่งและคำนึงถึงประโยชน์ของสังคม
2.สร้างนวัตกรรมทางกฎหมายโดยบูรณาการงานวิจัยและบริการวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหาและขับเคลื่อนสังคมสู่ความเป็นธรรมตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
3.พัฒนาสถาบันให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข
2.สร้างนวัตกรรมทางกฎหมายโดยบูรณาการงานวิจัยและบริการวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหาและขับเคลื่อนสังคมสู่ความเป็นธรรมตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
3.พัฒนาสถาบันให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข
P - Professional ความเป็นมืออาชีพ
S - Social responsibility ความรับผิดชอบต่อสังคม
U - Unity ความเป็นเอกภาพ เป็นหนึ่งเดียว
S - Social responsibility ความรับผิดชอบต่อสังคม
U - Unity ความเป็นเอกภาพ เป็นหนึ่งเดียว
• ยุทธศาสตร์คณะนิติศาสตร์ 2564 - 2567 •
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการผลิตบัณฑิตสู่ความเป็นเลิศ
1. นักเรียนที่เข้าศึกษาในคณะมีความสาารถในระดับสูง บนพื้นฐานความหลากหลายและการการะจายโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม
2. มีหลักสูตรที่ทันสมัยและตอบสนองความต้องการของสังคมและสะท้อนเอกลักษณ์ของคณะนิติศาสตร์
3. มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและหลากหลาย
4. อาจารย์มีคุณภาพ
5. บัณฑิตมีคุณภาพ
6. เป็นสถาบันการศึกษาที่ส่งเสริมความเป็นธรรมทางสังคมในการศึกษา
2. มีหลักสูตรที่ทันสมัยและตอบสนองความต้องการของสังคมและสะท้อนเอกลักษณ์ของคณะนิติศาสตร์
3. มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและหลากหลาย
4. อาจารย์มีคุณภาพ
5. บัณฑิตมีคุณภาพ
6. เป็นสถาบันการศึกษาที่ส่งเสริมความเป็นธรรมทางสังคมในการศึกษา
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างความเป็นผู้นำทางวิชาการ และสร้างนวัตกรรมทางกฎหมายเพื่อความเป็นธรรมของสังคม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาการบริการวิชาการทางกฎหมายให้เป็นที่พึ่งของสังคมและชุมชน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสู่การเป้นองค์กรแห่งความสุขที่มีการบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ
• โครงสร้างบริหารคณะนิติศาสตร์ •

• โครงสร้างองค์กรคณะนิติศาสตร์ •
